เมนู

ความเมาอาหาร เป็นไฉน ? ผู้มักบริโภค มึนในอาหาร ลำบากใน
อาหาร อ่อนเปลี้ยในกาล นี้เรียกว่า ความเมาในอาหาร. บรรดา
ธรรมเหล่านั้น ความที่จิตหดหู่เป็นไฉน ? ภาวะที่จิตไม่เหมาะ ไม่
ควรแก่การงาน ความย่อหย่อน ความย่นย่อ ความท้อแท้ ความ
ท้อถอย ภาวะท้อแท้แห่งจิตนี้ เรียกว่า ความท้อแท้แห่งจิต ก็บรรดา
ธรรมเหล่านี้ ธรรม 4 ข้างต้น เป็นปัจจัยแก่ถีนมิทธนิวรณ์ ทั้ง
โดยสหชาตปัจจัย ทั้งโดยอุปนิสสยปัจจัย อนึ่งภาวะที่ย่อหย่อน
ย่อมไม่เป็นสหชาติปัจจัยโดยตนของตนเอง แต่ย่อมเป็นสหชาตปัจจัย
ในที่สุดแห่งอุปนิสสยปัจจัย.
จบ อรรถกถาสูตรที่ 4

อรรถกถาสูตรที่ 4



ในสูตรที่ 4 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อุทฺธจฺจกุกฺกุจจํ ได้แก่ อุทธัจจะ และกุกกุจจะ. ใน 2
อย่างนั้น อาการที่จิตฟุ้งซ่าน ชื่อว่า อุทธัจจะ ความเดือดร้อน
ของบุคคลผู้ไม่ได้กระทำคุณความดี ทำแต่ความชั่ว เพราะข้อนั้น
เป็นปัจจัย ชื่อว่า กุกกุจจะ บทว่า เจตโส อวูปสโม นี้ เป็นชื่อของ
อุทธัจจะ และกุกกุจจะ นั่นเอง. บทว่า อวูปสนฺตจิตฺตสฺส ได้แก่ผู้มีจิต
ไม่สงบด้วยฌานและวิปัสสนา ก็ความไม่สงบนี้ เป็นปัจจัยแก่อุทธัจจะ
และกุกกุจจะ ในที่สุดแห่งอุปนิสสยปัจจัย.

จบ อรรถกถาสูตรที่ 4

อรรถกถาสูตรที่ 5



ในสูตรที่ 5 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า วิจิกิจฺฉา ได้แก่ วิจิกิจฉานิวรณ์ ที่กล่าวไว้พิสดารแล้ว
โดยนัยมีอาทิว่า ย่อมสงสัยในพระศาสดา ความใส่ใจโดยไม่แยบคาย
มีลักษณะดังกล่าวแล้วแล.
จบ อรรถกถาสูตรที่ 5

อรรถกถาสูตรที่ 6



ในสูตรที่ 6 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อนุปฺปนฺโนว กามฉนฺโท นุปฺปชฺชติ ความว่า กามฉันทะ
ที่ไม่เกิดขึ้นด้วยเหตุ 2 อย่างเท่านั้นคือ ด้วยความไม่ฟุ้งขึ้น หรือด้วย
อารมณ์ที่ไม่เคยเสวย ก็ไม่เกิดขึ้น. กามฉันทะนั้น เป็นอันภิกษุข่มได้
แล้วอย่างนั้น ย่อมไม่ได้เหตุหรือปัจจัยอีก. แม้ในที่นี้บัณฑิตพึงทราบ
ความไม่ฟุ้งขึ้นด้วยอำนาจวัตรเป็นต้น. จริงอยู่ เมื่อภิกษุบางรูป
ประกอบอยู่ในวัตร กระทำวัตรอยู่นั่นเอง โดยนัยดังกล่าวแล้ว กิเลส
ย่อมไม่ได้โอกาส เพราะฉะนั้น กามฉันทะนั้น เป็นอันชื่อว่าภิกษุข่ม
ไว้ได้ด้วยอำนาจวัตร ภิกษุนั้นการทำกามฉันทะนั้นให้เป็นอันตนข่ม
ไว้ได้อย่างนั้น แล้วเว้นขาดย่อมยืดเอาพระอรหัตได้ เหมือนพระ
มาลกติสสเถระฉะนั้น.
ได้ยินว่า ท่านพระมาสกติสสะ บังเกิดในครอบครัวพรานในที่
ภิกขาจาร แห่งคเมณฑวาสีวิหาร ในโรหณชนบท เจริญวัยแล้วก็